ประวัติ สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม
สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ( Muaythai Cultuer Association ) (MCA) เป็นสมาคมมวยไทยที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดย ดร.จัตุชัย จำปาหอม ผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถทางด้านมวยไทย ระดับแนวหน้าของประเทศ มีประวัติและผลงานด้านมวยไทย ดังต่อไปนี้
คุณวุฒิ สาขาวิชา และสถาบันที่สำเร็จการศึกษา
วุฒิการศึกษา สาขาวิชา สถาบัน
ปริญญาเอก มวยไทยศึกษา วิทยาลัยมวยไทยและการแพทย์แผนไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
อาจารย์พิเศษ
● คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพา
● วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย
● มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
ผลงานวิจัย
● มวยไทยไชยา เป็นงานวิจัยมวยไทยไชยาเล่มแรกของประเทศไทย เป็นผลงานที่ได้รับการทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ
● การจัดการองค์ความรู้มวยไทยโบราณ
● ประวัติความเป็นมาของมวยไทย
● หลักสูตรการอบรมครูมวยไทย A B C LICENSE ของการกีฬาแห่งประเทศไทย (ผู้ร่วมวิจัย)
ผลงานทางวิชาการ
● จัดทำกติกามวยไทยสมัครเล่น กรมพลศึกษา การกีฬาแห่งประเทศไทย
● กติกามวยสากลสมัครเล่น ระบบ ten point ให้กับสมาคมมวยสากลแห่งประเทศไทย
● บทความมวยไทย มวยโบราณ ในวารสารคุรุสภา
เกียรติประวัติและผลงาน
● คณะกรรมการบริหาร IBF มวยไทย
● ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมวยไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย กระทรวงวัฒนธรรม
● คณะกรรมการตัดสิน มหกรรมศิลปะมวยไทยชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทยครั้งที่ 15 – 23
● ผู้เชี่ยวชาญด้านมวยไทย มวยโบราณ เป็นที่ปรึกษาของสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย
● ผู้ตัดสินมวยไทยมวยโบราณของกรมพลศึกษา
● วิทยากร ครูมวยไทยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมไทย กระทรวงวัฒนธรรม
● รองประธานผู้ตัดสินมวยไทยแอโรบิค
● ประธาน ผู้ตัดสิน มวยไทยสมัครเล่น
● วิทยากร ครูมวยไทย กรุงเทพมหานคร
● ที่ปรึกษา ครูมวยไทย ศูนย์ฝึกมวยไทยแห่งชาติ กรมพลศึกษา
● ผู้เชี่ยวชาญ ด้านประวัติศาสตร์มวยไทยมวยโบราณ
● ครูมวยไทย มงคลทองระดับ 6 (ปรมาจารย์) ของสมาคมครูมวยไทย
● ครูมวยไทยไอกล้า (IGLA ) ของสหพันธ์มวยไทยสมัครเล่น นานาชาติ (IFMA) และสภามวยไทยโลก (WMC)
● อาจารย์สอนมวยไทย มหาวิทยาลัยจูฉง ประเทศจีน ในโครงการแลกเปลียน
ระหว่าง มหาวิทยาลัยบูรพากับมหาวิทยาลัยจูฉง ( MOU ) ใน เดือนมิถุนายน ปี 2558
● อาจารย์สอนมวยไทย มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติใต้หวัน ประเทศใต้หวัน ในโครงการแลกเปลี่ยน ระหว่าง มหาวิทยาลัยบูรพา กับมหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติใต้หวัน ในเดือน ธันวาคม ปี 2561
● ตัวแทนครูมวยไทย ประกอบพิธีกรรม ครอบครูมวยไทย ให้นักกีฬามวยไทย ชาวญี่ปุ่น จำนวน 30 คน ที่สถานฑูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยมีเอกอัครฑูตไทยเป็นประธานประกอบพธีกรรม เดือน เมษายน ปี 2562
● ตัวแทนครูมวยไทย ประกอบพิธีกรรม ครอบครูมวยไทย ให้นักกีฬามวยไทย ชาวรัสเซีย จำนวน 30 คน ที่สถานฑูตไทย กรุงมอสโค ประเทศรัสเซีย โดยมีผู้แทนท่านฑูตไทย เป็นประธานประกอบพิธีกรรมเดือน มิถุนายน ปี 2562
● ประธานฝ่ายมวยไทย มวยไทยโบราณ มวยไทยยุทธศิลป์ สมาคมกีฬากีฬาไทยแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี 2561 ถึงปัจจุบัน
● ประธานผู้ตัดสินมวยไทยยุทธศิลป์ 3 ประเภท มวยไทยบุคคล มวยไทยคู่ มวยไทยทีม
● วิทยากรอบรมครูมวยไทยหลักสูตร A B C LICENSE ด้านประวัติศาสตร์มวยไทย
● คณะอนุกรรมการการส่งเสริมและพัฒนา คณะอนุกรรมการการจัดการแข่งขัน ฟของคณะกรรมการกีฬามวย การกีฬาแห่งประเทศไทย
ปี 2563-ปัจจุบัน
● คณะกรรมการกลั่นกรอง ด้าน กีฬาพื้นบ้าน กีฬามวยไทย กรมส่งเสริม วัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม ปี 2566
● ได้รับรางวัล ปูชนียบุคคล ในด้านสาขากีฬามวย ของการกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ครั้งที่ 10 ปี 2565
จากประวัติและผลงานด้านการวิจัย ผลงานการเป็นประธานผู้ตัดสิน ตลอดทั้งการเป็นวิทยากรให้กับ
หน่วยงานต่างๆ ในระดับประเทศและต่างประเทศ
ดร.จัตุชัย จำปาหอม ท่านเล็งเห็นว่า มวยไทยจึงเป็นมรดกของการสั่งสมวัฒนธรรมและประเพณีหลาย ๆ ด้านอย่างผสมกลมกลืน ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อเกี่ยวกับจิตวิญญาณ คาถา อาคม ดนตรี วรรณกรรม คุณธรรมและจริยธรรม มวยไทยจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่บรรพบุรุษไทยได้คิดค้นอย่างชาญฉลาด โดยการใช้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายผสมผสานกับพลังกาย และพลังแห่งจิตวิญญาณของมนุษย์ ออกมาเป็นลีลากระบวนท่าของการต่อสู้ได้อย่างงดงามน่าเกรงขาม
พิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีขึ้นตั้งแต่แรกมอบตัวเป็นศิษย์ ได้แก่ การขึ้นครู การครอบครู การไหว้ครู และดนตรีปี่มวย จนกระทั่งการถ่ายทอดการเรียนรู้ตลอดจนกระบวนท่าไม้มวยไทยของครูมวยแต่ละคนนั้น แฝงไว้ด้วยคติธรรมแห่งความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ ความกตัญญูกตเวที ความมีมานะพยายาม ความซื่อสัตย์สุจริต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้รู้ ผู้เรียน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และจิตใจ เป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและสังคม ควรร่วมกันสนับสนุน ส่งเสริม ภูมิปัญญาของบรรพชนไทยสืบต่อไป
มวยโบราณ (มวยไทยท้องถิ่น) หมายถึง มวยไทยถือที่กำเนิดมาพร้อมกับชนชาติไทย และเป็นศิลปะประจำชาติไทยอย่างแท้จริง มวยโบราณ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการป้องกันตัวและเป็นศาสตร์และศิลปะการป้องกันตัวที่มีเทคนิคในการต่อสู้ มวยโบราณ มีมวยประจำท้องถิ่นของประเทศไทย ท้องถิ่นตามภาคหรือท้องถิ่นตามจังหวัดต่าง ๆ เช่น มวยฟ้อนเจิง ตบมะผาบ ของชาวล้านนา มวยไชยา ของภาคใต้ มวยโคราช ของภาคอีสาน มวยลพบุรี ของภาคกลาง มวยท่าเสา ของภาคเหนือ และยังมีมวยโบราณ หรือมวยประจำท้องถิ่นทั่วไทยอีกมากมาย ที่มีวิธีการต่อสู้ที่ดุดันและสวยงาม
มวยไทย ที่ใช้การต่อสู้กันบันสังเวียน มีการจัดการแข่งขันเผยแพร่มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ เป็นการต่อสู้ที่ต้องทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันตามมาด้วยความเจ็บปวด แตก สลบ พิการหรือสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรง ซึ่งมีผลต่อร่างกายในอนาคต ซึ่งมองเห็นกันอยู่เป็นประจำ เพื่อเป็นอาชีพแลกมาซึ่งรายได้ของนักกีฬา ผู้ฝึกสอน เจ้าของค่ายมวย
ดร.จัตุชัย จำปาหอม จึงคิดว่าถ้านำกีฬามวยไทยมาเป็นการแสดงทางด้านศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติไทย โดยคำนึงถึงเป็นการออกกำลังกาย ที่สามารถสร้างสมรรถภาพทางกาย จิตใจ รวบถึงมีรูปแบบของมวยไทย ซึ่งสามารถเล่นหรือฝึกหัด ได้ทั้งเด็กผู้หญิง เด็กผู้ชาย ไปจนถึงผู้สูงอายุ ก็สามารถใช้ในการออกกำลังกายได้โดยไม่เจ็บปวด ทั้งยังคงรักษาไว้ซึ่งคุณสมบัติและคุณลักษณะของมวยไทย ทำให้ผู้ปกครองสามารถให้ลูกหลานมาเรียนรู้ได้ อย่างสบายใจ จึงได้ชักชวนผู้ทรงคุณวุฒ ที่มีความรู้ความสามารถด้านมวยไทยโบราณ มาร่วมประชุมปรึกษาหารือ
วันที่ ๓๐ ตุลาคม 25๖๕
ดร.จัตุชัย จำปาหอม ได้เรียนเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในด้านมวยไทย ในศาสตร์และศิลป์ในสายงานต่างๆ มาร่วมเป็นคระกรรมการของสมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม เพื่อจัดตั้งสมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม และคณะกรรมการบริหารฯ ได้ลงมติเลือกให้ ดร.จัตุชัย จำปาหอม เป็นนายกสามาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม และแบ่งหน้าที่รับผิดขอบแต่ละฝ่าย และคุณณิศิศร์ ฉันทวานิชณ เจ้าของโรงเรียนมวยไทยองอาจ ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ อนุญาตให้ใช้เป็นสถานที่ของสมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ( Muaythai Cultuer Association ) (MCA)
วันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ดร.จัตุชัย จำปาหอม ได้นำเอกสารไปยื่นจนทะเบียนขึ้นเป็น สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ที่ การกีฬาแห่งประเทศไทย (Sports Authority of Thailand) เพื่อให้ถูกต้อง และเป็นไปตามกฎระเบียบ
ของราชการ โดยมีคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดังต่อไปนี้
จากนั้นคณะกรรมการได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่า สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ( Muaythai Cultuer Association ) (MCA) เริ่มดำเนินการดังต่องไปนี้ จัดทำสัญลักษณ์ สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ออกแบบโดย อาจารย์สมภพ โชติช่วง โดย ต้องมีสัญลักษณ์ของสมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม ดังนี้
– มีรูปนักมวยไทย โดยการสวมมงคล และคาดเชือก บ่งบอกถึงมวยโบราณ หรือมวยการแสดง
– มีตัวอักษรใต้รูปมวยไทย MCA ย่อมาจาก (Muaythai Cultuer Association)
– เชือกควั่นเป็นเกลียวกลมคล้ายมงคล หมายถึง ความสามัคคีกลมเกลียวของมวยไทย
– ริบบิ้น มีตัวอักษร สมาคมกีฬามวยไทยวัฒนธรรม
– ปลายริบบิ้น ทั้ง ๒ ข้าง เป็นสีธงชาติไทย หมายถึง จัดตั้งโดยประเทศไทย