ความเป็นมาของการสถาปนาวันมวยไทย
มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของชนชาติไทยมาตั้งแต่โบราณ ดังปรากฏในประวัติศาสตร์และพงสาวดารมาทุกยุคทุกสมัย เป็นการใช้อาวุธของร่างกาย ๙ อย่าง หรือที่เรียกว่า นวอาวุธ ได้แก่ มือ ๒ , เท้า ๒ , ศอก ๒ , และศีรษะ ๑ ได้อย่างมีประสิทธิภาพนับเป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งของโลก จากความสำคัญดังกล่าวมานี้ กระทรวงวัฒนธรรมโดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรมจึงได้ประกาศขึ้นทะเบียนมวยไทยเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ ซึ่งจะเป็นมาตรการสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักในคุณค่าการยกย่ององค์ความรู้และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ
นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมกับภาพเอกชนที่ดำเนินการเกี่ยวกับมวยไทยและหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีมติเป็นเอกฉันท์ในการร่วมกันผลักดันให้มีการสถาปนาวันมวยไทยขึ้น โดยได้พิจารณาจากข้อเสนอต่าง ๆ อย่างรอบคอบ ซึ่งในที่สุดได้เห็นชอบให้วันขึ้นเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ (สมเด็จพระเจ้าเสือ) คือ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ เป็นวันมวยไทย (วันเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติตรงกับวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๒๔๕) เนื่องจากมีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ปรากฏชัดเจน สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถด้านมวยไทยเป็นที่ประจักษ์ คือ
๑. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวที่เสด็จออกไปชกมวยกับสามัญชน
๒. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีความสามารถเกี่ยวกับมวยไทยมาก ทรงคิดท่าแม่ไม้ กลมวยไทยขึ้นมาเป็นแบบฉบับเฉพาะพระองค์ เรียกว่า “มวยไทยตำรับพระเจ้าเสือ” และได้รับการถ่ายทอดเป็นตำรามวยไทยให้แก่คนรุ่นหลังจนถึงทุกวันนี้
๓. สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ เป็นพระมหากษัตริย์ที่ใช้ศิลปะมวยไทยในการปกป้องราชอาณาจักรให้รอดพ้นจากกการเป็นเมือขึ้นของชาวต่างชาติ
ในการนี้ คณะรัฐมนตรีด้มีมติเป็นชอบเมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม ๒๕๕๔ กำหนดให้วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ของทุกปี เป็น “วันมวยไทย” (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม : วันมวยไทย, ๑๕)